วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ตำนานดอกชบา



ตำำนานดอกชบา


         ดอกไม้หลายๆ ชนิดถูกละเลย และมองข้าม เพียงเพราะชื่อและความหมายที่ไม่เป็น

มงคลอย่าง ดอกลั่นทม ที่ชื่อฟังดูโศกาจึงพาให้คนไทยเชื่อว่าเป็นดอกไม้แห่งความเศร้าไม่ควร

นำมาปลูกที่บ้าน ต่างกับ ดอกรัก ดอกไม้รูปงามนามเพราะจึงถูกคิดถึงและนำมาใช้อยู่เสมอ 

วันนี้จึงขอหยิบยกดอกไม้อีกหนึ่งชนิด นั่นคือ ดอกชบา ที่คนไทยเชื่อว่าเป็นดอกไม้แห่งตำนาน

ที่มีแต่ความอัปมงคลเช่นเดียวกับดอกลั่นทม เรื่องราวตำนานของดอกชบาน่าสนใจมาก วันนี้

จึงขอนำมาฝากเพื่อเป็นเกร็ดความรู้สำหรับทุกคนนะคะเชื่อกันว่าดอกชบาเข้าประเทศไทยมา

ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นอย่างน้อย เพราะได้รับการกล่าวถึงใน ไตรภูมิพระร่วง คาดว่า

ประเทศไทยได้รับดอกชบามาจากประเทศอินเดีย เพราะชื่อ ชบา มาจากภาษาสันสฤตคำ

ว่า ชปา เมื่อเป็นเช่นนี้ไทยจึงรับความเชื่อเรื่องของดอกชบามาจากอินเดียตามไปด้วย เพราะ

ทางอินเดียตอนใต้ใช้ดอกชบาบูชา เจ้าแม่กาลี และใช้ทำเป็นพวงมาลัยสวมคอนักโทษ

ประหาร ทั้งนี้ประเทศไทยยังได้นำดอกชบามาปรับใช้กับกฎหมายตราสามดวงในสมัย

รัชกาลสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่ทรงโปรดให้ใช้ดอกชบาในพระไอยการ 

ลักษณะผัวเมีย โดยใช้ดอกชบาในการประจาน ผู้หญิงอันร้าย หรือ ผู้หญิงแพศยา

ที่มา  http://www.homeidea.in.th/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%B2-%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87/

สรรพคุณของดอกชบา



สรรพคุณทางยาและประโยชน์


         

         ในคัมภีร์อายุรเวท พูดถึงสรรพคุณของดอกชบาว่า ช่วยฟอกโลหิต บำรุงจิตใจให้แช่ม

ชื่น บำรุงผิวพรรณ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาและบรรเทาโรคเกี่ยวกับไต และโดยเฉพาะ

โรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่นเสียเลือดประจำเดือนมากเกินไป ประจำเดือนมาไม่

สม่ำเสมอ รวมทั้งปัญหาเรื่องระดูขาวไม่เพียงแต่ดอกชบาเท่านั้นที่ใช้เป็นยาดีของอินเดีย ส่วน

อื่นๆของชบายังใช้เป็นยารักษาโรคได้ด้วย อย่างเช่น เปลือกต้นชบาใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิด

จากเชื้อรา ใบชบาใช้แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก บำรุงผมประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดู

ขาว - นำดอกชบาสด 4 ดอกมาตำให้แหลก แล้วกินตอน


ท้องว่างในตอนเช้าติดต่อกัน 7 วัน นำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว เอา

มาบดเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนชาตอนเช้าติดต่อกันนาน 7 วัน

ประจำเดือนไม่มา ใช้ดอกชบา 3 ดอกบดให้แหลก แล้วผสมกับน้ำมะนาวสัก 2 ช้อนโต๊ะ หรือ

ผสมกับนม 1 แก้ว แล้วดื่มตอนท้องว่างตอนเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ เอาเฉพาะ

กลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊บอย่างละเท่าๆ กันใส่ในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอา

โถแก้วออกตากแดดติดต่อกันสัก 21 วัน น้ำตาลจะละลายผสมกับดอกชบา พอครบกำหนด

แล้วเอามากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง นานสองถึงสามสัปดาห์ ยาสูตรนี้ถือว่า เป็นยา

บำรุงประจำเดือน

ดับร้อนและแก้ไข้ - ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อน

ผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี

รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ฮ่องกงฟุต - ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 

150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นฮ่องกงฟุต

รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก - ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณ

ที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี



บำรุงผม - ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ

 กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุง

เส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม


ที่มา  ****http://www.the-than.com/FLower/Fl-1/75/75.html   ****

การขยายพันธ์ุดอกชบา



การขยายพันธุ์


การขยายพันธุ์มี 3 วิธี คือ

1.การปักชำ


2.การเสียบยอด


3.การติดตา



โรคและแมลงศัตรู


1. โรค ที่พบในชบาได้แก่ โรคใบจุดในช่วงฤดูฝน โรคใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมีแมลงหวี่

ขาวเป็นพาหะ

2. แมลงศัตรุ ที่พบมากได้แก่ แมลงหวี่ขาวดูดน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อนทำให้เกิดโรค ใบหงิก 

เพลี้ยแป้ง เพี้ยหอย

ดูดน้ำเลี้ยงจากใบและกิ่งก้านนอกจากนี้ยังมีหนอนผีเสื้อบางชนิดกัดกินดอกอ่อนทำให้ดอกไม่

บานหรือกลีบเว้าแห่วง


3. สัตว์สัตรู ได้แก่ หอยทาก ทำลายโดยการกัดกินดอก กำจัดโดยใช้มือดึงออกหรือโรยปูนขาว


รอบพื้นที่ปลูก







ที่มา  ****http://www.the-than.com/FLower/Fl-1/75/75.html   ****

ประเภทของดอกชบา



         ประเภทของดอกอาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ

    1.ดอกบานเป็นรูปถ้วย


   2.ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน   

                                

   3.กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง



ลักษณะเด่น

คือ มีเส้นใยและยางเมือก (mucilagnous) อยู่ในเนื้อไม้โดยทั่วไปเป็นไม้พุ่มขนาดกลางใบเป็นใบ

เดี่ยวเรียงเวียนสลับมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่ รูปกลม รูปรีหรือเว้าเป็นแฉก 3-5 แฉก มี

กลีบดอก 5 กลีบแต่ละดอกจะเชื่อมติดกันเป็นวงที่ฐานดอกเกสรเพศผู้ประกอบด้วยอับเรณูสี

เหลืองรูปไตและก้านชูอับเรณูสีขาวหรือสีเดียวกันเกสรเพศเมีย อยู่ปลายหลอดเกสรเพศผู้มัก

มีก้านเล็ก ๆ แยกยอดเกสรเพศเมียเป็น 5 ยอกตามจำนวนห้องรังไข่ส่วนยอดมีน้ำหวาน

สำหรับจับละอองเรณู










ที่มา  ****http://www.the-than.com/FLower/Fl-1/75/75.html   ****

การดูแลดอกชบา


การดูแล


แสง                        :     ชอบแสงแดดมาก

น้ำ                          :     ต้องการน้ำพอประมาณ

ดิน                         :      เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญ  

                                      เติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด     

                                     แต่ไม่ควรให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป

ปุ๋ย                         :       ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก

การขยายพันธ์          :     ตอน ปักชำ


โรคและแมลง            :     ไม่ค่อยมีโรคจะมีก็แต่เพลี้ยที่รบกวนอยู่




การป้องกันกำจัด        :   ฉีดพ่นด้วยยามาลาไธออนหรือไดอาซินอน ตามคำแนะนำที่ระบุไว้                                                              ในฉลาก










ที่มา ****http://www.the-than.com/FLower/Fl-1/75/75.html   ****


ประวัติดอกชบา


ดอกชบา

       ชื่อสามัญ                     Chinese rose
       ชื่อวิทยาศาสตร์            Hibiscus rosa sinensis.
       ตระกูล                        MALVACEAE
       ถิ่นกำเนิด                      จีน อินเดียและฮาวาย




          ลักษณะทั่วไป

        ชบาในบ้านเรารู้จักกันมานานแล้ว จะเห็นได้จากบ้านคนสมัยก่อนจะมีชบายอยู่แทบทุก

บ้านปัจจุบันชบาได้รับการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ออกมามากมาย ซึ่งล้วนแต่สวย ๆ งาม 

ทั้งนั้น ทำให้ได้ดอกของชบาที่มีรูปร่างสวยงามสีสันของดอกสดใส ขบานั้นจัดเป็นไม้พุ่ม       

 ความสูงโดยทั่วไปประมาณ 2.50 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มนรี ปลายใบแหลม แต่ปัจจุบันก็ยังมี

พันธุ์ แตกต่างออกไปอีกมากมาย












ที่มา     ****http://www.the-than.com/FLower/Fl-1/75/75.html   ****

ประวัติส่วนตัว



ประวัติส่วนตัว

ชื่อ : ดวงกมล  ทุ่มก๊ก

ชื่อเล่น : ปัด

อายุ : 16 ปี


เกิด
: 10 สิงหาคม พ.ศ. 2541

ที่อยู่ : 135/2 ม.7 ต.เขานิพันธ์ อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี  84190

อาหารที่ชอบ :  ต้มยำกุ้ง & ยำมะม่วง

สีที่ชอบ :  สีฟ้า & สีชมพู

กีฬาที่ชอบ : แบตมินตัน

งานอดิเรก : ฟังเพลง & พักผ่อน

คติประจำใจ : ทำวันนี้ให้ดีที่สุด