วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ขั้นตอนการตัดชำ

การตัดชำกิ่งกลางอ่อนกลางแก่   มีขั้นตอน  ดังนี้

1. ใช้มีดตัดกิ่งยาว ประมาณ 4 – 6 นิ้ว












2. ใช้กรรไกรลิดใบล่างออกให้เหลือใบบน ประมาณ 3 – 5 ใบ













3. ใช้มีดกรีดโคนกิ่ง 3 – 4 รอย













4. จุ่มโคนกิ่งด้วยฮอร์โมนเร่งการเกิดราก












5. ปักกิ่งชำในวัสดุปักชำ ลึก  2 ใน 3 ของกิ่ง













6. เมื่อกิ่งชำออกรากและเจริญดีแล้ว จึงย้ายปลูก

วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การตัดชำ

การตัดชำ

            การตัดชำ (Cutting) หมายถึง    การตัดส่วนหนึ่งส่วนใดของพืช  แล้วนำไปปักไว้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม  เช่น ปักไว้ในที่มีความชุ่มชื้นหรือแช่ไว้ในน้ำ ส่วนนั้นจะสามารถเกิดราก และแตกยอด กลายเป็นพืชต้นใหม่ได้  ซึ่งจะมีคุณสมบัติและคุณลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกประการ

            การขยายพันธุ์พืช  โดยการตัดชำ เป็นวิธีการที่นิยมใช้กันมากทั้งพืชใบกว้างและใบแคบที่มีใบเขียวตลอดปี  โดยเฉพาะเหมาะสำหรับขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ  เช่น  เทียนทอง  ไทร  ชบา เข็ม  โกสน  เล็บครุฑ  สาวน้อยประแป้ง  หูปลาช่อน  หลิว  เบญจมาศ  มะลิ  กุหลาบ  ฯลฯ    นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ขยายพันธุ์ไม้ผลที่ออกรากง่าย  เช่น  องุ่น  สาเก  มะนาวและส้มบางชนิด ได้ 

            การตัดชำ  จะมีความหมายเดียวกับ  การปักชำ   แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า  การปักชำ  จะใช้กับส่วนที่เป็นลำต้น  กิ่ง  หรือใบพืช  ที่นำไปปักลงในวัสดุชำ  เพื่อให้เกิดรากเท่านั้น ดังนั้น ความหมายของคำว่า  ตัดชำ  จึงกว้างกว่า  ปักชำ  เพราะสามารถใช้ได้ทั้งส่วนที่อยู่บนดิน เป็น ลำต้น  กิ่ง  และใบ   และส่วนที่อยู่ใต้ดิน เป็น ราก  เหง้า  แง่ง  และหัวพืช  การตัดชำ มีความสำคัญ คือ สามารถทำได้ง่าย และเพิ่มปริมาณพืชได้รวดเร็ว ใช้ต้นทุนต่ำ และได้พันธุ์ไม้ที่ตรงตามพันธุ์เดิม

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ตำนานดอกชบา



ตำำนานดอกชบา


         ดอกไม้หลายๆ ชนิดถูกละเลย และมองข้าม เพียงเพราะชื่อและความหมายที่ไม่เป็น

มงคลอย่าง ดอกลั่นทม ที่ชื่อฟังดูโศกาจึงพาให้คนไทยเชื่อว่าเป็นดอกไม้แห่งความเศร้าไม่ควร

นำมาปลูกที่บ้าน ต่างกับ ดอกรัก ดอกไม้รูปงามนามเพราะจึงถูกคิดถึงและนำมาใช้อยู่เสมอ 

วันนี้จึงขอหยิบยกดอกไม้อีกหนึ่งชนิด นั่นคือ ดอกชบา ที่คนไทยเชื่อว่าเป็นดอกไม้แห่งตำนาน

ที่มีแต่ความอัปมงคลเช่นเดียวกับดอกลั่นทม เรื่องราวตำนานของดอกชบาน่าสนใจมาก วันนี้

จึงขอนำมาฝากเพื่อเป็นเกร็ดความรู้สำหรับทุกคนนะคะเชื่อกันว่าดอกชบาเข้าประเทศไทยมา

ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นอย่างน้อย เพราะได้รับการกล่าวถึงใน ไตรภูมิพระร่วง คาดว่า

ประเทศไทยได้รับดอกชบามาจากประเทศอินเดีย เพราะชื่อ ชบา มาจากภาษาสันสฤตคำ

ว่า ชปา เมื่อเป็นเช่นนี้ไทยจึงรับความเชื่อเรื่องของดอกชบามาจากอินเดียตามไปด้วย เพราะ

ทางอินเดียตอนใต้ใช้ดอกชบาบูชา เจ้าแม่กาลี และใช้ทำเป็นพวงมาลัยสวมคอนักโทษ

ประหาร ทั้งนี้ประเทศไทยยังได้นำดอกชบามาปรับใช้กับกฎหมายตราสามดวงในสมัย

รัชกาลสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่ทรงโปรดให้ใช้ดอกชบาในพระไอยการ 

ลักษณะผัวเมีย โดยใช้ดอกชบาในการประจาน ผู้หญิงอันร้าย หรือ ผู้หญิงแพศยา

ที่มา  http://www.homeidea.in.th/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%B2-%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87/

สรรพคุณของดอกชบา



สรรพคุณทางยาและประโยชน์


         

         ในคัมภีร์อายุรเวท พูดถึงสรรพคุณของดอกชบาว่า ช่วยฟอกโลหิต บำรุงจิตใจให้แช่ม

ชื่น บำรุงผิวพรรณ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาและบรรเทาโรคเกี่ยวกับไต และโดยเฉพาะ

โรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่นเสียเลือดประจำเดือนมากเกินไป ประจำเดือนมาไม่

สม่ำเสมอ รวมทั้งปัญหาเรื่องระดูขาวไม่เพียงแต่ดอกชบาเท่านั้นที่ใช้เป็นยาดีของอินเดีย ส่วน

อื่นๆของชบายังใช้เป็นยารักษาโรคได้ด้วย อย่างเช่น เปลือกต้นชบาใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิด

จากเชื้อรา ใบชบาใช้แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก บำรุงผมประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดู

ขาว - นำดอกชบาสด 4 ดอกมาตำให้แหลก แล้วกินตอน


ท้องว่างในตอนเช้าติดต่อกัน 7 วัน นำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว เอา

มาบดเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนชาตอนเช้าติดต่อกันนาน 7 วัน

ประจำเดือนไม่มา ใช้ดอกชบา 3 ดอกบดให้แหลก แล้วผสมกับน้ำมะนาวสัก 2 ช้อนโต๊ะ หรือ

ผสมกับนม 1 แก้ว แล้วดื่มตอนท้องว่างตอนเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ เอาเฉพาะ

กลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊บอย่างละเท่าๆ กันใส่ในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอา

โถแก้วออกตากแดดติดต่อกันสัก 21 วัน น้ำตาลจะละลายผสมกับดอกชบา พอครบกำหนด

แล้วเอามากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง นานสองถึงสามสัปดาห์ ยาสูตรนี้ถือว่า เป็นยา

บำรุงประจำเดือน

ดับร้อนและแก้ไข้ - ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อน

ผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี

รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ฮ่องกงฟุต - ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 

150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นฮ่องกงฟุต

รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก - ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณ

ที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี



บำรุงผม - ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ

 กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุง

เส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม


ที่มา  ****http://www.the-than.com/FLower/Fl-1/75/75.html   ****

การขยายพันธ์ุดอกชบา



การขยายพันธุ์


การขยายพันธุ์มี 3 วิธี คือ

1.การปักชำ


2.การเสียบยอด


3.การติดตา



โรคและแมลงศัตรู


1. โรค ที่พบในชบาได้แก่ โรคใบจุดในช่วงฤดูฝน โรคใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมีแมลงหวี่

ขาวเป็นพาหะ

2. แมลงศัตรุ ที่พบมากได้แก่ แมลงหวี่ขาวดูดน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อนทำให้เกิดโรค ใบหงิก 

เพลี้ยแป้ง เพี้ยหอย

ดูดน้ำเลี้ยงจากใบและกิ่งก้านนอกจากนี้ยังมีหนอนผีเสื้อบางชนิดกัดกินดอกอ่อนทำให้ดอกไม่

บานหรือกลีบเว้าแห่วง


3. สัตว์สัตรู ได้แก่ หอยทาก ทำลายโดยการกัดกินดอก กำจัดโดยใช้มือดึงออกหรือโรยปูนขาว


รอบพื้นที่ปลูก







ที่มา  ****http://www.the-than.com/FLower/Fl-1/75/75.html   ****

ประเภทของดอกชบา



         ประเภทของดอกอาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ

    1.ดอกบานเป็นรูปถ้วย


   2.ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน   

                                

   3.กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง



ลักษณะเด่น

คือ มีเส้นใยและยางเมือก (mucilagnous) อยู่ในเนื้อไม้โดยทั่วไปเป็นไม้พุ่มขนาดกลางใบเป็นใบ

เดี่ยวเรียงเวียนสลับมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่ รูปกลม รูปรีหรือเว้าเป็นแฉก 3-5 แฉก มี

กลีบดอก 5 กลีบแต่ละดอกจะเชื่อมติดกันเป็นวงที่ฐานดอกเกสรเพศผู้ประกอบด้วยอับเรณูสี

เหลืองรูปไตและก้านชูอับเรณูสีขาวหรือสีเดียวกันเกสรเพศเมีย อยู่ปลายหลอดเกสรเพศผู้มัก

มีก้านเล็ก ๆ แยกยอดเกสรเพศเมียเป็น 5 ยอกตามจำนวนห้องรังไข่ส่วนยอดมีน้ำหวาน

สำหรับจับละอองเรณู










ที่มา  ****http://www.the-than.com/FLower/Fl-1/75/75.html   ****

การดูแลดอกชบา


การดูแล


แสง                        :     ชอบแสงแดดมาก

น้ำ                          :     ต้องการน้ำพอประมาณ

ดิน                         :      เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญ  

                                      เติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด     

                                     แต่ไม่ควรให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป

ปุ๋ย                         :       ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก

การขยายพันธ์          :     ตอน ปักชำ


โรคและแมลง            :     ไม่ค่อยมีโรคจะมีก็แต่เพลี้ยที่รบกวนอยู่




การป้องกันกำจัด        :   ฉีดพ่นด้วยยามาลาไธออนหรือไดอาซินอน ตามคำแนะนำที่ระบุไว้                                                              ในฉลาก










ที่มา ****http://www.the-than.com/FLower/Fl-1/75/75.html   ****